วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

  คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
 คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ
สามารถ เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ คือ มีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผล ข้อมูลทั้งที่เป็นตังเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
       ส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเน 5 ส่วน คือ
    ส่วนที่1 หน่วยรับข้อมูลเข้า( input Unit)
        เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู้ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
   -แป้นอักขระ  ( Key bord )
   -แผ่นซีดี  ( CD  Rom )
   -ไมโครโฟน ( Microphon) เป็นต้น
  ส่วนที่2 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit)
        ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลผลข้อมูลตามคำสั้งที่ได้รับ
   ส่วนที่3 หน่วยความจำ
       ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั้งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลืเพื่อเตรียมส่งไป ประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพือเตรียมส่งไปยังแสดงผล
  ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
  ส่วนที่5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment)
      เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพืวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น เช่น โมเด็ม( Modem) แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น
     **ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์**
1.มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั้งได้อย่างรวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในการคำนวณต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มำงานได้ตลอด 24 ชั้งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3.มีความถูกต้องแม่นยำ ต่าโปรแกรมคำสั้งที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เอกสาร
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่ง

          ระบบคอมพิวเตอร์
   หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ ทำการใดๆกับข้อมูลให้อนยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้ งานมากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
    การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
        องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
    ระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอนด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์  (Hardware)  หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์  (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Date)
4.บุคลากร  (Peopleware)
       ฮาร์แวร์(Hardware)
        หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4ส่วน ดังต่อไปนี้
 1.ส่วนประมวลผล(Processor)
 2.ส่วนความจำ(Memory)
 3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก(Input-OutputDevices)
 4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล(Storage Dveice)
    ส่วนที่ 1 CPU
      เป็นอุปกรณืฮาร์ดที่เปรียบเสมือนสมอง
         มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยการทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียู ขึ้นอยู่ กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาใก เป็นความเร็วจำนวนรอบของสัญญาณ
   ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ  ( Memory )
    จำแนกเป็น 2 ประเภท
1.หน่วยความจำหลัก  ( Main Memory )
2.หน่วยความจำสำรอง  ( Secondery  Storage )
    1.หน่วยความจำหลัก  ( Main Memory )
       เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั้งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย  ชุดความจำข้อมูล ที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั้ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPU ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าออกจากหน่วยความจำ
      การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยควาทมจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ คือจำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
      หน่วยประมวลผลกลาง CPU
ทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง
1.ซิป (Chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2.ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
         1.หน่วยความจำหลัก
   แบ่งได้ 2 ประเภท หน่วยความจำแบบแรม และหน่วยความจำแบบรอม
1.1 หน่วยความจำแบบ แรม
RAM = Random Access Memory
    เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั้วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนปิดเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile  Memory )
1.2 หน่วยความจำแบบ รอม
ROM = Read Only Mmemory
เป็น หน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนในวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่าหน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน
       2. หน่วยความจำสำรอง
   หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้มูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากที่เราปิดเครื่องแล้ว
   หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลัก คือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านระหว่างข้อมูลคอมพิวเตอร์เครื่องไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

     ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
  หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องจากไฟฟ้าดับแพ ราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผลเมื่อเรีบยร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื้องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญเสียจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอม เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป  หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภาย นอกเช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ซิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบเฟลช หน่ยวความจำนี้ไม่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ
      ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางทำให้รูปแบบที่คนสามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Scree Monitor) เครื่องพิมพ์ภาพ (Ploter ) และลำโพง (Speaker )  เป็นต้น
    PEOPLEWARE
      บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์  หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไป อย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอม
     1.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
     2.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
     3.ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
1.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager )
2.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผน ( System Aralyst หรือ SA )
3.โปรแกรมเมอร์ ( Porgrammer )
4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์  ( Computer Operator )
5.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล ( Date Entry Operator)
- นักวิเคราะห์ระบบงาน
- ทำการฝึกระบบงานเดิม ออกแบบใหม่
- โปรแกรมงานใหม่  ( โปรแกรมเเมอร์ )
- วิศวกรระบบ
  ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
- พนักงานปฏิบัติการ
  ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้อง
  ซอฟแวร์   (software)
ซอ ฟแวร์   หมายถึง   การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั้งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำ อะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัศไม่ได้แต่เราสามารถสร้างจัดเก็บและนำมาใช้งานหรือ เผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิด เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ซไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
หน้าที่ของซอฟแวร์
        ซอฟแวร์ทำหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์  และเครื่องคอมพิวเตอร์  ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
ซอฟแวร์สำหรับเครืองคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท
ประเภทของซอฟแวร์
         ซอฟแวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. ซอฟแวร์ระบบ(system software)
2. ซอฟแวร์ประยุกต์(application software)
3. ซอฟแวร์ที่ใช้เฉพาะ
          1.ซอฟแวร์ระบบ(system software)
ซอ ฟแวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จากการกับระบบ  หน้าที่การทำงานของระบบซอฟแวร์   คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์เช่น   รับข้อมูลจากแผนแป้นอักขระ แล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ   นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์   จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง  
         system  sofware  หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ  DOS,WINDOWS, UNIX,LINUX  รวมทั้งโปรแกรม แปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษาBASIC,FORTRAN<PASCAL,COBOL,C  เป็นต้น
         นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบ เช่น  Norton  s utilities  ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
         หน้าที่ของซอฟแวร์ระบบ
         1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยรับออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแป้นอักขระ  ส่งรหัสด้วยอักษรออกทางจอภาพหรือ เครื่องพิมพ์   ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เม้าส์  ลำโพง  เป็นต้น
         2.  ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ  เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลักหรือในทำนองกลับกัน  คือ  นำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
        3.  ใช้เป็นตัวเชื่อมระหวางผู้ใช้กับเครืองคอมพิวเตอร์  เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น  เช่น การขอดูรายการในสาระบบ (Directory) ในแผ่นบันทึก  การทำสำเนาหรือแฟ้มข้อมูล
ซอฟแวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไปแบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา
ประเภทของซอฟแวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 
        1. ระบบปฏิบัติการ(Operating system:OS)
เป็น ซอฟแวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์  เครืองคอมพพิวเตอร์ทุกเครืองจะต้องมีซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการนี้   ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น  ดอส วินโดวส์  ยูนิกซ์  ลี  นุกซ์  และแมคอินทอซ  เป็นต้น
       1. ดอส(Disk Operating system:DOS) เป็น ซอฟแวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว  การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร  ดอส  ป็นซอฟแวร์ ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต  ปัจจุบัน ระบบปฏิบัติการ  ดอส นั้นมีการใช้งานน้อยมาก
        2. วินโดวส์ (Windows) เป้ นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจาก ดอส  โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเม้าส์มากขึ้นแทนการใช้แผนแป้นอักขระเพียง อย่างเดียว  นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้โดยงานแต ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพการใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก  ผู้ใช้งานสามารถใช้เม้าส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฎบนจอภาพทำ ให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบนี้ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
      3. ยูนิกซ์ (Unix) เป้ นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์   ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด(Open system)ซึ่ง เป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มี ยี่ห้อเดียวกัน  ยูนิกซ์ ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลา เดียวกันที่เรียกว่า  ระบบหลายผู้ใช้(Nultiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันในลัษณะที่เรียกว่า  ระบบหลายภารกิจ (Multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย  เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครืองพร้อมกัน
      4. ลีนุกซ์ (Linux) เป็น ระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์  เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติ ของระบบปฏิบัติการ   ลีนุกซ์  เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจบัน  เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ  ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่ม กูศ์นิว(GNU) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป้นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free W are) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
           สามารถทำง่านได้บนซีพียู หลายตระกูล เช่น อินเทล(PC Intel) ดิจิตอล(Digital Alpha Computer)   และซันสปาร์ค(SUN SPARCC) ถึง แม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ บนซีพียูได้ ทั้งหมดก็ตาม  แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์มากขึ้น
         5. แมคอินทอซ(Macintosh) เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์   แมคอินทอซ  ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก  ออกแบบ  และจัดแต่งเอกสาร  นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
              นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมา  ยังมีระบบอีกมาก  เช่น  ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์   เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบเช่น  ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์   นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้าง ขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งส่วนใหญ่จะใช้งานในห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
     ชนิดของระบบปฏิบัติการจำแนกตามการใช้งานได้เป็น  3  ชนิด    คือ
        1. ประเภทใช้งานเดียว(SIngle tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละ 1 งาน
        2. ประเภทใช้งานหลายงาน(Multi-tasking)  ระบบ ปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกันผู้ ใช้งานกับซอฟแวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน  เช่น  ระบบปฏิบัติการ (Windows98) ขึ้นไปและยูนิกส์  เป็นต้น
        3.  ประเภทใช้งานหลายคน(Multi user) ใน หน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล   ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงาน ของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์  จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง  เพื่อให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลาเช่น  ระบบปฏิบัติการวินโดวส์   nt และ ยูนิกส์ เป็นต้น

2.ตัวแปลภาษา
การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษา ระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic, Pascal, C และ ภาษาโลโก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่ Fortran, Cobol, และภาษาอาร์พีจี

ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software)
2.2 ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็ปไซต์ เป็นต้น

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกเป็น 2 ประเภทคือ
1.ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
2.ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software) มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และ โปรแกรมมาตรฐาน (Standard Packege)

แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1.กลุ่มการใช้งานทางธุรกิจ (Business)
2.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic And Multimedia)
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็ป (Web and Communications)


กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
                        ซอ ฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดีย เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว และการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
    โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
    โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDRAW, Adobe Photoshop
    โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle Studio DV         
    โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware, Toolbook Instructor, Adobe Director
   โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash, Adobe Dreamweaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
            โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSN Messenger/ Windows Messenger, ICQ
            โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH, MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
            การ ใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษา คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยค ข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษา คอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการ คำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
 เมื่อ มนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ใน การติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เรา เรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
      เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง
    การ ใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อ ยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
      เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
   แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง


ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
                        เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็น
ประโยค ภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน คือ
คอมไพเลอร์ (Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์
(Interpreter)
คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์ จะ ทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรี เตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง
ระบบเครือข่ายและระบบอินเตอร์เน็ต
ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์







การทำงานของระบบ Network และ Internetโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น
2. เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
3. เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มา เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง บางครั้งครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก อย่างเช่น อินเตอร์เน็ต ก็จัดว่าเป็นเครือข่าย WAN ประเภทหนึ่ง แต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
โครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology) หมาย ถึง รูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญานคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลัก 4 แบบ คือ
1.
เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็น เครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลา หนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
2. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็น เครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็น ศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

3. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เป็น เครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่ จากเครื่องต้นทาง

 1. แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน











ลักษณะการทำงาน
เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
2. แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่อง ขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัว เองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยาย สัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป




ลักษณะการทำงาน
เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

3. แบบบัส เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยมีตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้มีวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะ จะทำให้ข้อมูลชนกันการติดตั้งเครือข่ายแบบนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์แต่ละชนิดถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่ เครือข่ายแบบบัสมักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีเครื่อง คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก



 

ลักษณะการทำงาน
อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะ หมายความรวมถึงการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ข้อมูลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย
รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
2.
ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3.
ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
    เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งจะตังอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ โดยการเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลที่เครื่องกลาง ซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง


2.ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer
    แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเองเช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้



3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server นี้จะเป็นเครื่องที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆ เพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย